Insurance Knowledge โดย ประสิทธิ์ คำเกิด
สวัสดีครับพบกับ Insurance Knowledge เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการประกันภัยกันนะครับ ในสถานการณ์ การระบาดของไวรัส โควิด ที่วิกฤตกันอยู่ในขณะนี้ คงทำให้หลายท่านมีความกังวลใจกันอย่างมาก IK ขอเป็นกำลังใจให้กับทุกท่านที่ร่วมใจกันสู้กับเจ้าไวรัสร้ายนี้ และ เราจะร่วมมือกันเพื่อผ่านวิกฤตการณ์อันเลวร้ายนี้ไปให้ได้ด้วยดีนะครับ
การประกันอัคคีภัย หมายถึงการประกันภัยเพื่อความคุ้มครองความเสียหายหรือสูญหายของทรัพย์สินจากเพลิงไหม้ ฟ้าผ่า หรือ การระเบิดของแก็สที่ใช้สำหรับทำแสงสว่างหรือการอยู่อาศัย รวมทั้งความเสียหายต่อเนื่องจากอัคคีภัย หรือบ้างก็เรียกว่า การประกันภัยทรัพย์สิน โดยการประกันภัยประเภทนี้จะมุ่งให้การคุ้มครองต่อตัวทรัพย์ของผู้เอาประกันภัย เช่น ตัวอาคาร บ้านเรือน เฟอร์นิเจอร์ ในอาคารบ้านเรือนต่างที่อาจมีความเสี่ยงจากการถูกไฟไหม้ แล้วอาจทำให้ผู้เอาประกันภัยต้องเสียหายจำนวนมากดังสุภาษิตที่ว่า ‘โจรปล้นร้อยครั้ง ก็ไม่เท่ากับไฟไหม้เพียงครั้งเดียว’ ซึ่งหมายความว่าการที่คนเราจะถูกโจรขึ้นบ้านถึงสิบครั้งหรือหลายสิบครั้งความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นก็ยังน้อยกว่าการถูกไฟไหม้เพียงครั้งเดียว เพราะไม่เพียงแค่ทรัพย์สินเสียหายแค่นั้นแต่จะสูญเสียทั้งบ้านอาคารที่อยู่อาศัยไปด้วย จึงเห็นได้ว่าไฟไหม้ เป็นภัยอย่างหนึ่งที่อาจเกิดขึ้นได้ การประกันอัคคีภัย จึงเป็นการประกันวินาศภัยอีกประเภทหนึ่ง ที่มีคนทำประกันภัยภัยประเภทนี้กันมากพอสมควร โดยการประกันอัคคีภัยนี้จะให้การคุ้มครองก็ต่อเมื่อ
1.ต้องมีการลุกไหม้เกิดขึ้นจริง ซึ่งข้อกำหนดนี้เป็นการให้การคุ้มครองภัยที่เกิดจากไฟ เป็นสำคัญ ดังนั้นโดยหลักการแล้ว ก็จะต้องมีการลุกไหม้เกิดขึ้น และการลุกไหม้นั้น ต้องเป็นการลุกไหม้ที่เกิดจากไฟและไฟนั้นจะต้องเป็นไฟที่มาจากการใช้งานปกติทั่วไป และ
2.ไฟที่ใช้งานปรกติแต่เกิดการลุกลามเกินขอบเขต หมายถึง ไฟที่เราใช้งานตามปกติเช่นไฟฟ้า ไฟจากการหุงต้มทำอาหาร ไฟจากเตาแก๊ส เตาแก๊สระเบิด ฟ้าผ่า แล้วทำให้เกิดไฟไหม้ลุกลามไปทำให้ทรัพย์สินเสีย และไฟที่ลุกไหม้นั้นก็จะต้องเป็นอุบัติเหตุ
3.ไฟนั้นต้องเกิดขึ้นโดยอุบัติเหตุ หรือ เหตุบังเอิญ คำว่าวินาศภัยนั้นหมายถึงภัยที่อุบัติขึ้นแล้วทำให้เกิดความสูญเสียหรือความเสียหายซึ่งมีพื้นฐานมาจากอุบัติเหตุ ดังนั้นที่มาของไฟที่ลุกไหม้นั้นต้องมีที่มาจากอุบัติเหตุซึ่งหมายถึงเหตุการที่อุบัติขึ้นหรือเกิดขึ้นโดยไม่ได้มีการคาดหมายหรือคาดการไว้ล่วงหน้าและเป็นเหตุที่ไม่แน่นอนกล่าวคือ มันจะเกิดขึ้นเมื่อไดไม่มีใครล่วงรู้ได้
โดยหลักการทั้งสามข้อที่กำหนดไว้นี้เป็นหลักการที่สำคัญซึ่งเมื่อทุกท่านตกลงทำประกันอัคคีภัยไว้แล้วเมื่อเกิดภัยขึ้นทางบริษัทประกันภัยก็จะมีการตรวจสอบและสืบสวน-สอบสวน ข้อมูลข้อเท็จจริงในการเกิดเหตุเพลิงไหม้นั้นว่าเข้าเงื่อนใขในสามข้อนี้หรือไม่ซึ่งเมื่อเข้ากับหลักการทั้งสามข้อนี้แล้วทางบริษัทผู้รับประกันภัยก็จะพิจารณาถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นว่าอะไรบ้างที่จะได้รับความคุ้มครองตามสัญญาซึ่งผู้เอาประกันภัยต้องอ่านและทำความเข้าใจในกรมธรรม์นั้นด้วย ซึ่งการประกันอัคคีภัยนั้นจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภทได้แก่
1. การประกันอัคคีภัยมาตรฐาน
เป็นการประกันอัคคีภัยที่ให้ความคุ้มครองต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อทรัพย์สินที่เป็นมาตรฐานทั่วไป โดยกรมธรรม์ประกันภัยจะให้การคุ้มครองต่อทรัพย์สินที่เอาประกันภัยที่เกิดจาก




ทั้งหมดนี้เป็นการให้การคุ้มครองตามมาตรฐานทั่วไปของกรมธรรม์ประกันอัคคีภัย แต่หากผู้เอาประกันภัยประสงค์ที่จะซื้อความคุ้มครองเพิ่มเติมจากมาตรฐานที่กำหนดนี้ก็สามารถซื้อความคุ้มครองเพิ่มได้ประกอบด้วย
1. ภัยธรรมชาติ เช่น ลมพายุ น้ำท่วม ลูกเห็บ แผ่นดินไหว สึนามิ
2. ภัยสังคม เช่น การจราจล การนัดหยุดงาน การกระทำที่มีเจตนาร้าย
3. ภัยทางเคมี เช่น การระอุตามธรรมชาติ การระเบิดของหม้อน้ำ ฯลฯ
4. ภัยอื่น เช่น ภัยจากอากาศยาน ภัยจากน้ำ ภัยจากควัน ฯลฯ
ทรัพย์สินที่จะสามารถเอาประกันภัยตามมาตรฐานนี้ได้
1. ต้องเป็นสิ่งปลูกสร้าง ตัวอาคาร(ไม่รวมรากฐาน)
2. เฟอร์นิเจอร์ สิ่งที่สร้างให้ติดตรึงกับอาคาร
3. เครื่องจักร สต๊อคสินค้า เครื่องใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า ฯลฯ
4. ทรัพย์สินอื่นที่มีมูลค่าสูงเช่น คอมพิวเตอร์
สำหรับข้อยกเว้นที่กรมธรรม์จะไม่ให้การคุ้มครองได้แก่











2.การประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัย
การประกันอัคคีภัยประเภทนี้มุ่งให้ความคุ้มครองต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อทรัพย์สินซึ่งเป็นที่อยู่ที่อาศัยซึ่งก็คือบ้านเรือนไม่ว่าจะเป็นบ้านเดี่ยว ทาวเฮาส์ อาคารตึกแถว คอนโดมิเนียม แฟลต ของผู้เอาประกันภัย
ประกันภัยที่เกิดจาก ไฟไหม้ ฟ้าผ่า (รวมเครื่องใช้ อุปกรณ์ไฟฟ้า) การระเบิด ความเสียหายจากยานพาหนะหรือสัตว์ ความเสียหายจาก อากาศยานหรือวัตถุที่ตกจากอากาศยาน และ ภัยเนื่องจากน้ำเช่น น้ำฝนตกหนักไหลเข้าหลังคาทำให้ฟ้า เพดาน เสียหาย แต่ทั้งนี้จะไม่รวมถึงภัยจากกรณีน้ำท่วม หากต้องการความคุ้มครองเพิ่มเติมกว่าที่กำหนดไว้นี้ก็ต้องมีการซื้อเพิ่มเติม เช่น
1. ภัยธรรมชาติ เช่น ลมพายุ น้ำท่วม ลูกเห็บ แผ่นดินไหว สึนามิ
2. ภัยสังคม เช่น การจราจล การนัดหยุดงาน การกระทำที่มีเจตนาร้าย
3. ภัยทางเคมี เช่น การระอุตามธรรมชาติ การระเบิดของหม้อน้ำ ฯลฯ
4. ภัยอื่น เช่น ภัยจากอากาศยาน ภัยจากน้ำ ภัยจากควัน ฯลฯ
ทรัพย์สินที่สามารถเอาประกันอัคคีภัยประเภทนี้ได้ก็ได้แก่




ข้อยกเว้นความคุ้มครองของการประกันอัคคีภัยประเภทที่อยู่อาศัย










3.การประกันอัคคีภัยแบบพิเศษ
การประกันอัคคีภัยแบบพิเศษนี้เป็นการประกันภัยที่มีอัตราเบี้ยไม่สูงมากหรือมีการกำหนดเอาไว้ชัดเจนโดยจะให้การคุ้มครองต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อทรัพย์สินที่เอาประกันภัยที่เกิดจากเพลิงไหม้ซึ่งมีอยู่ 2 แบบ คือ
3.1. แบบชุมชนบ้านอยู่อาศัย



3.2. แบบประหยัด

โดยแบบนี้จะมีการจำกัดจำนวนเงินเอาประกันภัยและค่าเบี้ยปรันภัยเอาไว้อย่างชัดเจนคือ
แบบ ก. สิ่งปลูกสร้างที่เป็นอาคารคอนกรีต จะให้การคุ้มครอง 600,000 บาท
แบบ ข. สิ่งปลูกสร้างที่เป็นครึ่งตึกครึ่งไม้ จะให้การคุ้มครอง 250,000 บาท
แบบ ค. สิ่งปลูกสร้างที่ ไม่ใช่ทั้งแบบ ก หรือแบบ.ข. จะให้การคุ้มครอง 150,000 บาท
โดยผู้เอาประกันภัย จ่ายค่าเบี้ยประกันภัย 600 บาทต่อปี
ทั้งสามประเภทของการประกันอัคคีภัยก็ขึ้นอยู่กับผู้เอาประกันภัยเองครับว่าจะทำประกันภัยแบบไหนซึ่งเดี๋ยวนี้เบี้ยประกันภัยอัคคีภัยก็ไม่สูงมากแล้ว บางบริษัททำประกันภัยแบบคุ้มครองต่อเนื่อง 3 ปี 4 ปี 5 ปี หรือมากกว่านี้ก็มี โดยการจ่ายเบี้ยประกันภัยครั้งเดียวก็จะถูกกว่าแบบปีต่อปีไปอีกทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับทุกท่านนะครับที่สำคัญคือการประกันภัยนั้นมีไว้ดีกว่าไม่มีนะครับ เพราะเราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าในอนาคตนั้นจะเกิดอะไรขึ้นเพราะความแน่นอนคือความไม่แน่นอน อย่าลืมนะครับกรมธรรม์ประกันภัยเมื่อได้รับไปแล้วต้องอ่านและทำความเข้าใจนะครับว่า เงื่อนไขกรมธรรม์ หมวดทั่วไปว่าอย่างไร หมวดความคุ้มครองว่าอย่างไร หมวดข้อยกเว้นความคุ้มครองว่าอย่างไร เราจะได้รู้เรื่องประกันภัยของเราเป็นอย่างดีนั่นเองครับ…แล้วพบกันคราวหน้า..สวัสดีครับ