
การประกันภัยธุรกิจหยุดชะงัก คืออะไร
การทำประกันภัยภายใต้กรมธรรม์ประกันภัยทรัพย์สิน เช่น การประกันอัคคีภัยการประกันภัยการเสี่ยงภัยทุกชนิด เมื่อเกิดความสูญเสีย หรือเสียหายเกิดขึ้นกับทรัพย์สินที่เอาประกันภัยแล้ว ผู้เอาประกันภัยจะได้รับชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เฉพาะตัวทรัพย์สินที่เอาประกันภัย เท่ากับมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง แต่ไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัย หรือผู้รับประกันภัย อาจชดใช้เป็นเงินสด หรือโดยการซ่อมแซม ให้กลับสู่สภาพเดิม หรือสร้างให้ใหม่ตามข้อตกลงในกรมธรรม์ประกันอัคคีภัย
เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า หากอัคคีภัยนั้นเกิดขึ้นต่อโรงงานที่ดำเนินการผลิต สินค้าใด ๆ ก็ตามนอกจากจะเกิดความเสียหาย ต่อทรัพย์สินแล้ว จะมีผลทำให้โรงงานนั้นต้องหยุดกิจการเพื่อมีการซ่อมแซมโรงงาน การผลิตก็หยุดชะงักลงในขณะที่ไม่มี การผลิตนั้นมีผลทำให้ยอดรายได้ของ เจ้าของธุรกิจลดลง ตัวอย่างเช่น โรงงานทอผ้าแห่งหนี่ง ทำประกันอัคคีภัยโรงงาน ไว้เต็มตามมูลค่าของทรัพย์สิน ต่อมาเกิดเพลิงไหม้ ทำให้โรงงานเสียหาย 50% บริษัทประกันภัยจะชดใช้ค่าเสียหายตาม ความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง 50% นั้น และเมื่อพิจารณาต่อไปว่า ขณะที่รอการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนและซ่อมแซมโรงงานนั้น การผลิตก็จะหยุดชะงักลงซึ่งเป็นผลเสียหายสืบเนื่องจากเพลิงไหม้ทำให้เกิดผล ที่ตามมาคือ ยอดรายได้ของเจ้าของโรงงานลดลง ค่าใช้จ่ายในส่วนที่ยังคงต้องจ่ายแม้จะไม่มีการผลิต เช่น ค่าเงินเดือน ค่าดอกเบี้ย ค่าเช่า เป็นต้น แต่ค่าใช้จ่ายบางส่วนจะลดลง ได้แก่ ค่าวัตถุดิบ ค่าแรงงาน เป็นต้น
ดังนั้น การประกันภัยธุรกิจหยุดชะงัก จึงเข้ามามีบทบาทในการช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของเจ้าของธุรกิจ
โดยหลักการแล้วการประกันภัยธุรกิจหยุดชะงัก เป็นการประกันภัยที่คุ้มครองความสูญเสียในทางการค้า (รายได้ของผู้เอาประกันภัย) เมื่อธุรกิจต้องหยุดชะงักลง อันเป็นผลสืบเนื่องจากความเสียหายที่เกิดต่อทรัพย์สิน ที่เอาประกันภัยไว้และเป็นทรัพย์สิน ที่มีผลต่อการค้าของ ผู้เอาประกันภัย วัตถุประสงค์ของการประกันภัยธุรกิจหยุดชะงักคือ เพื่อทำให้ผู้เอาประกันภัย กลับสู่สถานะทางการเงินดังเดิม เสมือนหนึ่งมิได้มีอัคคีภัยหรือภัยอื่นๆ ที่เอาประกันภัยเกิดขึ้น
คำว่าธุรกิจหยุดชะงัก มีความหมายครอบคลุมเพียงใด
คำว่าธุรกิจหยุดชะงัก หมายถึง การที่โรงงาน/กิจการ ต้องหยุดดำเนินการผลิตชั่วคราวเพื่อรอการซ่อมแซม หรือสร้างโรงงานใหม่ อันเป็นผลสืบเนื่องจากความเสียหายที่เกิดต่อทรัพย์สิน
การประกันภัยหยุดชะงัก มีกี่ประเภท แต่ละประเภทมีลัษณะอย่างไร เหมาะกับสภาพความเสี่ยงแบบใด
การประกันภัยธุรกิจหยุดชะงักมีแบบเดียว แต่มีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไปได้แก่
- การประกันภัยกำไร (Profit Insurance)
- การประกันภัยรายได้ธุรกิจ (Business Income Coverage)
- การประกันภัยรายได้ (Income Insurance)
แต่ที่เป็นที่รู้จักและแพร่หลาย มี 2 ชื่อ คือ
1. การประกันภัยความเสียหายสืบเนื่อง (Conscquentoal Loss Insurance) หมายถึง การประกันภัยความเสียหาย ทางการเงิน ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากความเสียหายทางวัตถุอันเกิดจากภัยที่เอาประกันภัยได้
2. การประกันภัยการสูญเสียกำไร (Loss of Profit Insurance) เป็นคำที่ใช้ในประเทศอังกฤษ ซึ่งมีความหมายเหมือนกับ การประกันภัยธุรกิจหยุดชะงัก (Business Interruption Insurance) เป็นคำที่ใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งทั้งสองคำนี้หมายถึงการประกันภัยความเสียหายอันเนื่องมาจาก การหยุดชะงักของธุรกิจจากเหตุการณ์อันไม่อาจ คาดการณ์ล่วงหน้าได้ เช่น เพลิงไหม้โรงงานเครื่องจักร เกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจรแล้วทำให้เกิดเพลิงไหม้ เป็นต้น
ดังนั้น ธุรกิจใดที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดดังกล่าวข้างต้น จึงควรทำประกันภัยประเภทดังกล่าวนี้
บริษัทประกันภัยใช้ปัจจัยอะไรบ้างในการพิจารณาอัตราเบี้ยประกันภัย และการกำหนดวงเงิน คุ้มครองจะพิจารณาจากปัจจัยอะไรบ้าง
การกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัยสำหรับการประกันภัยธุรกิจหยุดชะงัก มี 2 วิธี คือ
1. โดยวิธีผลรวม เป็นแบบเดิม คำนวณจากกำไรสุทธิบวกด้วยภาระผูกพันทางการเงิน ได้แก่ ดอกเบี้ยจ่ายและค่าใช้จ่ายคงที่หรือค่าใช้จ่ายประจำ (Standing Charges)
2. โดยวิธีผลต่าง เป็นแบบที่นิยมใช้ในปัจจุบัน
ปัจจัยที่ใช้ในการพิจารณาอัตราเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันภัยธุรกิจหยุดชะงัก
อัตราเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันภัยธุรกิจหยุดชะงักจะแปรผันตามระยะเวลาของการชดใช้ (Indemnity Period)
ระยะเวลาของการชดใช้ (Indemnity Period) หมายถึง ระยะเวลาที่ผู้รับประกันภัยผูกพันที่จะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้ ผู้เอาประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยธุรกิจหยุดชะงัก ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่เกิดความเสียหายจนถึงวันที่ความเสียหายนั้นหมดไป หรือตามวันสิ้นสุดที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์
ภัยประเภทใดที่ การประกันภัยธุรกิจหยุดชะงัก ยกเว้นความคุ้มครอง
การประกันภัยไม่คุ้มครอง การสูญเสียที่เกิดจากหรือเกิดขึ้นโดยหรือเป็นผลต่อเนื่องจาก
- การเผาทรัพย์สินโดยคำสั่งของเจ้าหน้าที่บ้านเมือง
- เพลิงใต้ดิน
- การระเบิด เว้นแต่ที่ได้ระบุไว้ในกรมธรรม์
- การไหม้ ไม่ว่าโดยอุบัติเหตุหรือโดยการอื่นของป่า พุ่มไม้ ทุ่งหญ้าและการเผาเพื่อปราบพื้นที่
ความเสียหายของทรัพย์สินที่เกิดจากการบูดเน่า ความร้อนตามธรรมชาติ หรือการระอุ หรือกรรมวิธีใด ๆ ซึ่งใช้ความร้อนหรือการทำให้แห้ง
- การสูญเสียหรือความเสียหายโดยตรงหรือโดยอ้อมที่มีสาเหตุ จากหรือเกิดขึ้นจากหรือเป็นผลเนื่องมาจากหรือมีส่วนทำให้เกิดขึ้นโดยวัตถุอาวุธนิวเคลีย์
- การสูญเสียหรือความเสียหายโดยตรงหรือโดยอ้อม ที่มีสาเหตุจากหรือเกิดขึ้นจากหรือเป็นผลเนื่องมาจากหรือมีส่วนทำให้เกิดขึ้นโดยการแผ่รังสีของละอองกัมมันตรังสี หรือเปอระเปรื้อนกัมมันตรังสีจากเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใด ๆ หรือจากกากนิวเคลียร์จากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ การเผาไหม้ให้รวมถึงกระบวนการที่เกิดขึ้นด้วยตัวเองจากการแตกตัวของนิวเคลียร์ด้วย
การประกันภัยนี้ไม่คุ้มครองการสูญเสียใด ๆ ที่มีสาเหตุจากความเสียหายที่เกิดขึ้นโดยหรือเนื่องจาก หรือเป็นผลมาจากทั้งโดยตรงหรือโดยอ้อม จากปรากฏการณ์ต่อไปนี้
- แผ่นดินไหว การประทุของภูเขาไฟหรือการสั่นสะเทือนของธรรมชาติ
- ไต้ฝุ่นเฮอริเคน ทอร์นาโด ไซโคลน หรือการรบกวนอื่น ๆ ทางบรรยากาศ
- สงคราม การรุกราน การกระทำที่มุ่งร้ายของศัตรูต่างประเทศความเป็นปรปักษ์หรือการกระทำที่มุ่งร้ายคล้าย สงคราม(ไม่ว่าจะมีการประกาศสงครามหรือไม่ก็ตาม) สงครามกลางเมือง
- การแข็งข้อ ความไม่สงบ การต่อต้านของทหารหรือประชาชน การกบฏ
การประกันภัยประเภทนี้มีหลักเกณฑ์และข้อยกเว้นในการจ่ายค่าสินไหมทดแทน อย่างไรบ้าง
หลักเกณฑ์การจ่ายค่าสินไหมทดแทน คือ เมื่อมีการจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัยทรัพย์สินแล้วกรมธรรม์ประกันภัยธุรกิจหยุดชะงัก จึงจะมีการจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามความคุ้มครองที่กำหนด
ข้อยกเว้นการจ่ายค่าสินไหมทดแทน
ผู้รับประกันภัยทรัพย์สินไม่จ่ายหรือไม่ยอมรับชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นต่อทรัพย์สินนั้น
ความเสียหายเกิดขึ้นจากภัยที่เอาประกันภัยภายใต้กรมธรรม์ประกันภัย
ธุรกิจหยุดชะงัก แต่ไม่ได้เอาประกันภัยภายใต้กรมธรรม์ประกันภัยทรัพย์สิน